วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย


 "กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร" โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า "ปฏิวัติ" แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า "กบฏ"
นับจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ - พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การ"ปฏิวัติ" และเป็น "กบฏ" มีดังนี้
( เรียงลำดับ ดังนี้>>>พ.ศ. >>เหตุการณ์>>> หัวหน้าก่อการ>>> รัฐบาล )
ครั้งที่ ๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เหตุกาณ์ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อรัฐบาลพ่ออยู่หัวพระปกเกล้าฯ (ร.๗)
ครั้งที่ ๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ เหตุการณ์รัฐประหาร >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ต่อรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ครั้งที่ ๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ กบฎบวรเดช >>>โดยคณะของพล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๔. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ กบฎนายสิบ >>>โดยคณะของส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๕. ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ กบฎพระยาสุรเดช >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาสุรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๖. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ รัฐประหาร>>> โดยคณะของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ครั้งที่ ๗. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฎแบ่งแยกดินแดน >>>โดยคณะของส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๘. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของคณะนายทหารบก >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๙. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฏเสนาธิการ >>>โดยคณะของพล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๐. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ กบฎวังหลวง >>>โดยคณะของนายปรีดี พนมยงค์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ กบฎแมนฮัตตัน >>>โดยคณะของน.อ.อานน บุณฑริกธาดา >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะจอมพล โดยคณะของป. พิบูลสงคราม >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ กบฎสันติภาพ >>>โดยคณะของนายกุหราบ สายประสิทธิ์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๔. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๕. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๖. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล ถนอม กิตติขจร >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๗. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม >>>โดย ประชาชน >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๘. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ครั้งที่ ๑๙. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ กบฎ ๒๖ มีนาคม >>>โดยคณะของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ครั้งที่ ๒๐. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ครั้งที่ ๒๑. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ กบฎ ๑ เมษายน >>>โดยคณะของพล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ครั้งที่ ๒๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน>>> โดยคณะของ พ.อ.มนูญ รูปขจร *>>> ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
(* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร )ครั้งที่ ๒๓. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ครั้งล่าสุด ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ รัฐประหาร ๑๙ กันยายน >>>โดยคณะของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน >>>ต่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มคณะราษฏร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งคณะราษฏรได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ และคณะราษฏรก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระราชกำหนดนิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่ในการสั่งปราบปรามคณะราษฏรในข้อหากบฏก็คงจะทรงทำได้ เพราะทหารในส่วนหัวเมืองที่ยังจงรักภักดีกับพระองค์ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เนื่องจากพระองค์เองทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอภิรัฐมนตรีสภาทัดทานอยู่ พระองค์จึงต้องรอโอกาสอันสมควร แต่เมื่อคณะราษฏรได้ชิงลงมือก่อการปฏิวัติก่อนก็สอดคล้องกับพระราชดำริ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีประเด็นที่น่าศึกษาดังนี้
1.จุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ของคณะราษฏร คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยยึดถืออุดมการณ์ 6 ประการ คือ
- จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
- จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
- จะบำรุงความสุขสบายสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสมอกัน
- จะต้องให้ราษฏรมีเสรีภาพ โดยไม่ขัดกับหลัก 4 ประการข้างต้น
- จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฏรอย่างเต็มที่
2. สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากประเทศตะวันตก กลายเป็นผู้นำสมัยใหม่ และรับแนวคิดแบบประชาธิปไตยมาเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
- จิตสำนึกของคนรุ่นใหม่และอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีลักษณะก้าวหน้าในสมัยนั้น ในช่วง เวลาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตยได้มีความตื่นตัว และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนต่างๆ ก็พากันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเขียนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแพร่หลาย
- ฐานะทางการคลังของประเทศและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 การคลังของประเทศเริ่มตกต่ำลงในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเกิดตกต่ำลง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพยายามตัดทอนรายจ่ายทุกประเภทให้เหลือเท่าที่จำเป็น มีการปรับปรุงระบบภาษีให้รัดกุม เพื่อจะได้เก็บภาษีให้มากขึ้น และใช้วิธีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาลให้น้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจทั่วโลกก็กำลังตกต่ำลง จึงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจนรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้บรรลุผลได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏรใน พ.ศ.2475
3. องค์ประกอบคณะราษฏร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนจำนวน 99 คน โดยมีบุคคลสำคัญดังนี้
- พ.อ.พระยาพลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร
- พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
- พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
- พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
- พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
- พ.ต.หลวงทัศนัยนิยมศึก
- น.ต.หลวงสิทธุ์สงครามชัย
- น.ต.หลวงศุภชลาศัย
- หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์) หัวหน้าฝ่ายพลเรือน
- นายจรูญ สืบแสง
- นายควง อภัยวงศ์
4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
- คณะราษฏรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้เปิดสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" - สาระสำคัญของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว กำหนดไว้ว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนมาเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงตำแหน่งบริหารที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการคณะราษฏร คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราฏษรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศ ซึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฏรให้เป็นประธานคณะกรรมการคณะราษฏร
5.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับเป็นหลักการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็น นายกรัฐมนตรี ทางด้านคณะราษฏรได้ส่งบุคคลระดับหัวหน้าฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมรัฐบาล โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้คุมเสียงข้างมากอยู่ในคณะรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงเรียกได้ว่าเป็น "รัฐบาลของคณะราษฏร"ซึ่งเป็นสมาคมการเมืองเดียวในขณะนั้น

รายงานผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554

     ชื่อพรรค                   ส.ส.บัญชีรายชื่อ   ส.ส.แบ่งเขต      รวม   
1.เพื่อไทย                                    61                       204                265
2.ประชาธิปัตย์                             44                        115               159
3.ภูมิใจไทย                                  5                          29                 34
4.ชาติไทยพัฒนา                         4                          15                 19
5.ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน              2                          5                   7
6.พลังชล                                     1                           6                   7
7.รักประเทศไทย                          4                           -                   4
8.มาตุภูมิ                                     1                           1                   2
9.รักษ์สันติ                                  1                            -                   110,มหาชน                                   1                           -                   1
11.ประชาธิปไตยใหม่                  1                           -                   1

          รวม                                   125                     375               500
 
    พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยกี่พรรค1.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง2.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
3.พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
4.พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง      
รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมี สส. 34 คน

พรรคการเมือง


สัญญลักษณ์
ชื่อพรรคการเมือง/ชื่อหัวหน้าพรรค
ชื่อย่อ
หมายเลข
พรรค เพื่อไทย
นาง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
พท.
1.
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
นาย วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 
ชพน. หรือ CPN.
2
พรรค ประชาธิปไตยใหม่
นาย สุรทิน พิจารณ์
 
ปธม. หรือ NDCP.
3
พรรค ประชากรไทย
นาย สุมิตร สุนทรเวช
 
ปชท. หรือ TCP.
4
พรรค รักประเทศไทย
นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
 
รปท. หรือ R.TL.P
5
พรรค พลังชล
 รศ. เชาวน์ มณีวงษ์
 
พช. หรือ PC
6
พรรค ประชาธรรม
นาย มุคตาร์ กีละ
พปธ. หรือ PCT.
7
พรรค ดำรงไทย
 นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
ดธ. หรือ DR.P
8
พรรค พลังมวลชน
 นายไกรภพ ครองจักรภพ
พลช. หรือ MPP.
9
พรรค ประชาธิปัตย์
 นาย อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
ปชป. หรือ DP.
10
พรรค ไทยพอเพียง
นาย จำรัส อินทุมาร
ทพ. หรือ TPPP.
11
พรรค รักษ์สันติ
 พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์
รส. หรือ RSP.
12
พรรค ไทยเป็นสุข
 นาย ประดิษฐ์ ศรีประชา
ทปส. หรือ TPS.
13
พรรค กิจสังคม
นาย ทองพูล ดีไพร
กส. หรือ SAP.
14
พรรค ไทยเป็นไทย
 นาย ตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
ทปท. หรือ T.I.P.
15
พรรค ภูมิใจไทย
นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ภท. หรือ BJT
16
พรรค แทนคุณแผ่นดิน
นาย วิชัย ศิรินคร
ทคผ. หรือ TKP.
17
พรรค เพื่อฟ้าดิน
นางสาว ขวัญดิน สิงห์คำ
พฟด. หรือ FHAE.
18
พรรค เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
 นาย โชติ บุญจริง
พนท. หรือ FNTP.
19
พรรค การเมืองใหม่
 นาย สมศัก โกศัยสุข (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติด์ิหน้าที่แทน)
ก.ม.ม. หรือ NPP.
20
พรรค ชาติไทยพัฒนา
 นาย ชุมพล ศิลปอาชา
ชทพ. หรือ CP.
21
พรรค เสรีนิยม
นาย พุทธชาติ ช่วยราม
ส.ร.น. หรือ L.P.
22
พรรค ชาติสามัคคี
 นาย นพดล ไชยฤทธิเดช
ช.ส.ม. หรือ C.S.P.
23
     พรรค บำรุงเมือง
นาย สุวรรณ ประมูลชัย
บม. หรือ B.M.P.
24
พรรค กสิกรไทย
นาย จำลอง ดำสิม
กท. หรือ KT.
25
พรรค มาตุภูมิ
 พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
มภ. หรือ MB.
26
พรรค ชีวิตที่ดีกว่า
นาย พจน์กรณ์ ตันติภิรมย์
พชก. หรือ BLP.
27
พรรค พลังสังคมไทย
นาย วิวัฒน์ เลอยุกต์
พสท. หรือ RSTP.
28
พรรค เพื่อประชาชนไทย
 นาย ดิเรก กลิ่นจันทร์
 
พ.ป.ท. หรือ R.T.P.
29
พรรค มหาชน
นาย อภิรัต ศิรินาวิน
พมช. หรืิอ MCP.
30
พรรค ประชาชนชาวไทย
นาย สุนทร ศรีบุญนาค
ปชชท. หรือ RCCTP.
31
พรรค รักแผ่นดิน
 นาย ประทีป ประภัสสร
รผด. หรือ RPD.
32
พรรค ประชาสันติ
 นาย ดลสวัสด์ิ ชาติเมธี (รองหัวหน้าพรรครักษาการแทน)
ปส. หรือ CPP.
33
พรรค ความหวังใหม่
นาย ชิงชัย มงคลธรรม
ควม. หรือ NAP.
34
พรรค อาสามาตุภูมิ
นาย มนตรี เศรษฐบุตร
อ.ส.ม. หรือ A.R.A.
35
พรรค พลังคนกีฬา
 นาย วนัสธนา สัจจกุล
พ.ก. หรือ S.P.O.T.
36
 
พรรค พลังชาวนาไทย
นายสัมฤทธ์ิ แก้วทน
พ.ชนท. หรือ P.CNT.
37
พรรค ไทยสร้างสรรค์
 นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์ (เลขาธิการพรรครักษาการแทน)
ท.ส. หรือ T.S.
38
พรรค เพื่อนเกษตรไทย
 นายทรงเดช สุขขำ (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติหน้าที่แทน)
พ.ก.ท. หรือ P.K.T.
39
พรรค มหารัฐพัฒนา
 นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์
ม.ร.พ. หรือ M.R.P.
40