วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

อาเซียน



"One  Vision,One  Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
        ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
        วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง    หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว    หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน· หมายถึง··สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

         กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
           ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

         ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
         ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ    
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ   ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน(ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
          ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียน และเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชน และค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)


2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอน   ของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน  ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชนสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัลโรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมายและสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียนแบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกัน และประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558
         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน
         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน  
รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน
           นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่าง ๆ  เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
          นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

บรูไนดารุสซาลาม : Brunei Darussalam
Head of State : His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu'izzaddin Waddaulah 
Capital : Bandar Seri Begawan
Language(s) : Malay, English
Currency : B$ (Brunei Dollar)
Ministry of Foreign Affairs & Trade of Brunei Darussalam Website:
www.mfa.gov.bn  


 ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
Head of State : His Majesty King Norodom Sihamoni
Head of Government : Prime Minister Hun Sen
Capital : Phnom Penh
Language : Khmer
Currency : Riel Ministry of Foreign Affairs & International Cooperation of Cambodia Website:
www.mfaic.gov.kh


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
Head of State : President Susilo Bambang Yudhoyono
Capital : Jakarta
Language : Indonesian
Currency : Rupiah
Department of Foreign Affairs of Indonesia Website:
www.deplu.go.id 




สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
Headof State : President Choummaly Sayasone 
Head of Government : Prime Minister Thongsing Thammavong
Capital : Vientiane
Language : Lao
Currency : Kip
Ministry of Foreign Affairs of Lao PDR Website:
www.mofa.gov.la



มาเลเซีย : Malaysia

Head of Government : The Honourable Dato' Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak
Capital : Kuala Lumpur
Language(s) : Malay, English, Chinese, Tamil
Currency : Ringgit 
Ministry of Foreign Affairs of Malaysia Website:
www.kln.gov.myASEAN-Malaysia National Secretariat Website:
www.kln.gov.my/myasean

  

สาธารณรัฐแห่งสหภาพหม่า : Republic of the Union of Myanmar

Head of State : Senior General Than Shwe
Head of Government : Prime Minister General Thein Sein
Capital : Nay Pyi Daw
Language : Myanmar
Currency : Kyat 
Ministry of Foreign Affairs of Myanmar Website:
www.mofa.gov.mm



สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

Head of State : President Benigno S. Aquino III
Capital : Manila
Language(s) : Filipino, English, Spanish
Currency : Peso
Department of Foreign Affairs of the Philippines Website:
www.dfa.gov.ph

  

สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
Head of State : President Tony Tan Keng Yam
Head of Government : Prime Minister Lee Hsien Loong
Capital : Singapore
Language(s) : English, Malay, Mandarin, Tamil
Currency : S$ (Singapore Dollar)
Ministry of Foreign Affairs of Singapore Website:
www.mfa.gov.sg


ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
Head of State : His Majesty King Bhumibol Adulyadej
Head of Government : Prime Minister Yingluck Shinawatra
Capital : Bangkok
Language : Thai
Currency : Baht
Ministry of Foreign Affairs of Thailand Website:
www.mfa.go.th


 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  : Socialist Republic of Vietnam
Head of State : President Truong Tan Dang
Head of Government : Prime Minister Nguyen Tan Dung
Capital : Ha Noi
Language : Vietnamese
Currency : Dong
Ministry of Foreign Affairs of Viet Nam Website:
www.mofa.gov.vn
 

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย


 "กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร" โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า "ปฏิวัติ" แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า "กบฏ"
นับจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ - พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การ"ปฏิวัติ" และเป็น "กบฏ" มีดังนี้
( เรียงลำดับ ดังนี้>>>พ.ศ. >>เหตุการณ์>>> หัวหน้าก่อการ>>> รัฐบาล )
ครั้งที่ ๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เหตุกาณ์ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อรัฐบาลพ่ออยู่หัวพระปกเกล้าฯ (ร.๗)
ครั้งที่ ๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ เหตุการณ์รัฐประหาร >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ต่อรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ครั้งที่ ๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ กบฎบวรเดช >>>โดยคณะของพล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๔. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ กบฎนายสิบ >>>โดยคณะของส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๕. ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ กบฎพระยาสุรเดช >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาสุรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๖. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ รัฐประหาร>>> โดยคณะของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ครั้งที่ ๗. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฎแบ่งแยกดินแดน >>>โดยคณะของส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๘. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของคณะนายทหารบก >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๙. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฏเสนาธิการ >>>โดยคณะของพล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๐. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ กบฎวังหลวง >>>โดยคณะของนายปรีดี พนมยงค์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ กบฎแมนฮัตตัน >>>โดยคณะของน.อ.อานน บุณฑริกธาดา >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะจอมพล โดยคณะของป. พิบูลสงคราม >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ กบฎสันติภาพ >>>โดยคณะของนายกุหราบ สายประสิทธิ์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๔. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๕. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๖. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล ถนอม กิตติขจร >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๗. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม >>>โดย ประชาชน >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๘. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ครั้งที่ ๑๙. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ กบฎ ๒๖ มีนาคม >>>โดยคณะของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ครั้งที่ ๒๐. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ครั้งที่ ๒๑. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ กบฎ ๑ เมษายน >>>โดยคณะของพล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ครั้งที่ ๒๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน>>> โดยคณะของ พ.อ.มนูญ รูปขจร *>>> ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
(* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร )ครั้งที่ ๒๓. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ครั้งล่าสุด ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ รัฐประหาร ๑๙ กันยายน >>>โดยคณะของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน >>>ต่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มคณะราษฏร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งคณะราษฏรได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ และคณะราษฏรก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระราชกำหนดนิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่ในการสั่งปราบปรามคณะราษฏรในข้อหากบฏก็คงจะทรงทำได้ เพราะทหารในส่วนหัวเมืองที่ยังจงรักภักดีกับพระองค์ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เนื่องจากพระองค์เองทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอภิรัฐมนตรีสภาทัดทานอยู่ พระองค์จึงต้องรอโอกาสอันสมควร แต่เมื่อคณะราษฏรได้ชิงลงมือก่อการปฏิวัติก่อนก็สอดคล้องกับพระราชดำริ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีประเด็นที่น่าศึกษาดังนี้
1.จุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ของคณะราษฏร คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยยึดถืออุดมการณ์ 6 ประการ คือ
- จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
- จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
- จะบำรุงความสุขสบายสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสมอกัน
- จะต้องให้ราษฏรมีเสรีภาพ โดยไม่ขัดกับหลัก 4 ประการข้างต้น
- จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฏรอย่างเต็มที่
2. สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากประเทศตะวันตก กลายเป็นผู้นำสมัยใหม่ และรับแนวคิดแบบประชาธิปไตยมาเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
- จิตสำนึกของคนรุ่นใหม่และอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีลักษณะก้าวหน้าในสมัยนั้น ในช่วง เวลาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตยได้มีความตื่นตัว และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนต่างๆ ก็พากันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเขียนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแพร่หลาย
- ฐานะทางการคลังของประเทศและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 การคลังของประเทศเริ่มตกต่ำลงในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเกิดตกต่ำลง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพยายามตัดทอนรายจ่ายทุกประเภทให้เหลือเท่าที่จำเป็น มีการปรับปรุงระบบภาษีให้รัดกุม เพื่อจะได้เก็บภาษีให้มากขึ้น และใช้วิธีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาลให้น้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจทั่วโลกก็กำลังตกต่ำลง จึงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจนรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้บรรลุผลได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏรใน พ.ศ.2475
3. องค์ประกอบคณะราษฏร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนจำนวน 99 คน โดยมีบุคคลสำคัญดังนี้
- พ.อ.พระยาพลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร
- พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
- พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
- พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
- พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
- พ.ต.หลวงทัศนัยนิยมศึก
- น.ต.หลวงสิทธุ์สงครามชัย
- น.ต.หลวงศุภชลาศัย
- หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์) หัวหน้าฝ่ายพลเรือน
- นายจรูญ สืบแสง
- นายควง อภัยวงศ์
4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
- คณะราษฏรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้เปิดสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" - สาระสำคัญของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว กำหนดไว้ว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนมาเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงตำแหน่งบริหารที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการคณะราษฏร คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราฏษรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศ ซึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฏรให้เป็นประธานคณะกรรมการคณะราษฏร
5.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับเป็นหลักการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็น นายกรัฐมนตรี ทางด้านคณะราษฏรได้ส่งบุคคลระดับหัวหน้าฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมรัฐบาล โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้คุมเสียงข้างมากอยู่ในคณะรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงเรียกได้ว่าเป็น "รัฐบาลของคณะราษฏร"ซึ่งเป็นสมาคมการเมืองเดียวในขณะนั้น

รายงานผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554

     ชื่อพรรค                   ส.ส.บัญชีรายชื่อ   ส.ส.แบ่งเขต      รวม   
1.เพื่อไทย                                    61                       204                265
2.ประชาธิปัตย์                             44                        115               159
3.ภูมิใจไทย                                  5                          29                 34
4.ชาติไทยพัฒนา                         4                          15                 19
5.ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน              2                          5                   7
6.พลังชล                                     1                           6                   7
7.รักประเทศไทย                          4                           -                   4
8.มาตุภูมิ                                     1                           1                   2
9.รักษ์สันติ                                  1                            -                   110,มหาชน                                   1                           -                   1
11.ประชาธิปไตยใหม่                  1                           -                   1

          รวม                                   125                     375               500
 
    พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยกี่พรรค1.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง2.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
3.พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
4.พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง      
รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมี สส. 34 คน

พรรคการเมือง


สัญญลักษณ์
ชื่อพรรคการเมือง/ชื่อหัวหน้าพรรค
ชื่อย่อ
หมายเลข
พรรค เพื่อไทย
นาง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
พท.
1.
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
นาย วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 
ชพน. หรือ CPN.
2
พรรค ประชาธิปไตยใหม่
นาย สุรทิน พิจารณ์
 
ปธม. หรือ NDCP.
3
พรรค ประชากรไทย
นาย สุมิตร สุนทรเวช
 
ปชท. หรือ TCP.
4
พรรค รักประเทศไทย
นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
 
รปท. หรือ R.TL.P
5
พรรค พลังชล
 รศ. เชาวน์ มณีวงษ์
 
พช. หรือ PC
6
พรรค ประชาธรรม
นาย มุคตาร์ กีละ
พปธ. หรือ PCT.
7
พรรค ดำรงไทย
 นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
ดธ. หรือ DR.P
8
พรรค พลังมวลชน
 นายไกรภพ ครองจักรภพ
พลช. หรือ MPP.
9
พรรค ประชาธิปัตย์
 นาย อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
ปชป. หรือ DP.
10
พรรค ไทยพอเพียง
นาย จำรัส อินทุมาร
ทพ. หรือ TPPP.
11
พรรค รักษ์สันติ
 พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์
รส. หรือ RSP.
12
พรรค ไทยเป็นสุข
 นาย ประดิษฐ์ ศรีประชา
ทปส. หรือ TPS.
13
พรรค กิจสังคม
นาย ทองพูล ดีไพร
กส. หรือ SAP.
14
พรรค ไทยเป็นไทย
 นาย ตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
ทปท. หรือ T.I.P.
15
พรรค ภูมิใจไทย
นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ภท. หรือ BJT
16
พรรค แทนคุณแผ่นดิน
นาย วิชัย ศิรินคร
ทคผ. หรือ TKP.
17
พรรค เพื่อฟ้าดิน
นางสาว ขวัญดิน สิงห์คำ
พฟด. หรือ FHAE.
18
พรรค เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
 นาย โชติ บุญจริง
พนท. หรือ FNTP.
19
พรรค การเมืองใหม่
 นาย สมศัก โกศัยสุข (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติด์ิหน้าที่แทน)
ก.ม.ม. หรือ NPP.
20
พรรค ชาติไทยพัฒนา
 นาย ชุมพล ศิลปอาชา
ชทพ. หรือ CP.
21
พรรค เสรีนิยม
นาย พุทธชาติ ช่วยราม
ส.ร.น. หรือ L.P.
22
พรรค ชาติสามัคคี
 นาย นพดล ไชยฤทธิเดช
ช.ส.ม. หรือ C.S.P.
23
     พรรค บำรุงเมือง
นาย สุวรรณ ประมูลชัย
บม. หรือ B.M.P.
24
พรรค กสิกรไทย
นาย จำลอง ดำสิม
กท. หรือ KT.
25
พรรค มาตุภูมิ
 พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
มภ. หรือ MB.
26
พรรค ชีวิตที่ดีกว่า
นาย พจน์กรณ์ ตันติภิรมย์
พชก. หรือ BLP.
27
พรรค พลังสังคมไทย
นาย วิวัฒน์ เลอยุกต์
พสท. หรือ RSTP.
28
พรรค เพื่อประชาชนไทย
 นาย ดิเรก กลิ่นจันทร์
 
พ.ป.ท. หรือ R.T.P.
29
พรรค มหาชน
นาย อภิรัต ศิรินาวิน
พมช. หรืิอ MCP.
30
พรรค ประชาชนชาวไทย
นาย สุนทร ศรีบุญนาค
ปชชท. หรือ RCCTP.
31
พรรค รักแผ่นดิน
 นาย ประทีป ประภัสสร
รผด. หรือ RPD.
32
พรรค ประชาสันติ
 นาย ดลสวัสด์ิ ชาติเมธี (รองหัวหน้าพรรครักษาการแทน)
ปส. หรือ CPP.
33
พรรค ความหวังใหม่
นาย ชิงชัย มงคลธรรม
ควม. หรือ NAP.
34
พรรค อาสามาตุภูมิ
นาย มนตรี เศรษฐบุตร
อ.ส.ม. หรือ A.R.A.
35
พรรค พลังคนกีฬา
 นาย วนัสธนา สัจจกุล
พ.ก. หรือ S.P.O.T.
36
 
พรรค พลังชาวนาไทย
นายสัมฤทธ์ิ แก้วทน
พ.ชนท. หรือ P.CNT.
37
พรรค ไทยสร้างสรรค์
 นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์ (เลขาธิการพรรครักษาการแทน)
ท.ส. หรือ T.S.
38
พรรค เพื่อนเกษตรไทย
 นายทรงเดช สุขขำ (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติหน้าที่แทน)
พ.ก.ท. หรือ P.K.T.
39
พรรค มหารัฐพัฒนา
 นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์
ม.ร.พ. หรือ M.R.P.
40